บจก. เอ็นจิเนียร์ ติวเตอร์
083-812-1905
Line ID: golfae1

ระเบียบการและวิธีการสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก 2563

We Promise to Make Your Dream Come Closer!

[academia_heading title=”ระเบียบการและวิธีการสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
ในส่วนของกองทัพบก 2563″ el_class=”mg-bottom-60″]

ระเบียบการและวิธีการสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก 2563

crma2_2563

 

ผู้ที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ (ม.๔) หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. อายุไม่ต่ากว่า ๑๖ ปี และไม่เกิน ๑๘ ปี ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ
  3. สำหรับนักเรียนนายสิบแผนที่ นักเรียนช่างฝีมือทหาร ของกองบัญชาการกองทัพไทย นักเรียนนายสิบ นักเรียนจ่า นักเรียนจ่าอากาศ ที่ได้รับคัดเลือกจากกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ หากเป็นผู้ที่สาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ให้บรรจุและแต่งตั้งยศเป็นนายทหารประทวนก่อนส่งเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร ในส่วนนักเรียนนายสิบตารวจ หรือนายตารวจประทวน ของสานักงานตารวจแห่งชาติ ที่ได้รับการคัดเลือกจาก สานักงานตารวจแห่งชาติ และส่งเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร ต้องมีอายุไม่เกิน ๒๔ ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
  4. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร นายตำรวจสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน นายตำรวจประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดย การเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
  5. มีอวัยวะรูปร่างลักษณะท่าทางขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารหรือตำรวจ ไม่เป็นโรคตามที่กาหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร กฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตารวจ และตามที่กองทัพไทยกำหนดรายละเอียดไว้ในผนวก ท้ายระเบียบกองทัพไทย ว่าด้วยโรงเรียนเตรียมทหาร พ.ศ.๒๕๖๑
  6. เป็นชายโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ หรือติดต่อได้เสียกับหญิงถึงขั้นที่ จะถือว่าเป็นภรรยา
  7. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี มีอุดมการณ์เลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบ
  8. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
  9. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจาคุกโดยคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  10. ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกให้ออกหรือไล่ออก จากโรงเรียนทหาร หรือโรงเรียนตำรวจ เพราะความผิด หรือถูกถอนทะเบียนจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
  11. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  12. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นผู้มีอาชีพอันชอบธรรมหรือมีหลักฐาน
  13. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร แล้ว
  14. ต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ค้าประกัน ซึ่งสามารถรับรองข้อความ และพันธกรณีตามที่ กองทัพไทยกำหนด
  15. ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับองค์กรของรัฐบาลหรือเอกชน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

หลักฐานที่ผู้สอบผ่านรอบแรกจะต้องยื่นในวันประกาศผลสอบรอบแรก

  1. สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๔ (รบ.๑-ต.) หรือ ใบรับรอง ผลการเรียน (ที่ระบุว่าปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นใด) (ผนวก ค)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และของบิดา – มารดาผู้ให้กำเนิด หากผู้สมัครมีบิดาและมารดาที่มีชื่อหรือนามสกุลในหลักฐานต่าง ๆ ไม่ตรงกัน ต้องแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน (โดยแก้ไขที่อำเภอ/เขต) และให้นำหลักฐานการแก้ไขแล้วมาแสดงประกอบด้วย
  3. สูติบัตรของผู้สมัครหรือใบรับรองการเกิด (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลของผู้สมัคร หรือบิดา – มารดา ของผู้สมัคร (ถ้ามี) (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  5. ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม ให้นำหลักฐานใบมรณบัตร หรือหนังสือรับรอง จากนายทะเบียนเพื่อแสดงสัญชาติของบิดามารดามาแสดงประกอบด้วย (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
  6. ในกรณีที่ ปู่ – ย่า หรือ ตา – ยาย ของผู้สมัครไม่มีสัญชาติไทย ให้นำหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้มาแสดง
    – สูติบัตรบิดา – มารดาของผู้สมัคร (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
    – หนังสือรับรองที่ออกโดยนายทะเบียนท้องที่ของสานักงานเขต หรือที่ว่าการ อำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่นั้นรับรองว่าบิดา – มารดา ของผู้สมัครมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
    – ใบสำคัญแสดงการเข้ารับราชการทหารกองประจาการ (ทหารเกณฑ์) อย่างใดอย่างหนึ่งของบิดาของผู้สมัคร

    • ใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.๙) (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
    • ทะเบียนกองประจาการ (สด.๓) (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) (ขอได้ที่ สัสดีจังหวัดตามภูมิลำเนาทหาร)
    • หนังสือสำคัญ (สด.๘) และสมุดประจำตัวทหารกองหนุน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
    • ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหาร กองประจาการ (สด.๔๓) (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) (ขอได้ที่สัสดีจังหวัดตามภูมิลำเนาทหาร)
  7. หลักฐานการคิดคะแนนเพิ่มตาม ผนวก ง
    – ผู้มีสิทธิขอคะแนนเพิ่มพิเศษตามระเบียบกองทัพไทย พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๙.๔ (ร้อยละ ๖) และข้อ ๑๙.๕ (ร้อยละ ๑๐) ให้ส่งหลักฐานพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารทุกฉบับ ส่งทาง ไปรษณีย์ (ตามที่อยู่ด้านล่าง) ภายใน ๑๖ ก.พ.๖๓ โดยถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราเป็นสำคัญ
    – ผู้ผ่านการสอบรอบแรก มีสิทธิ์ขอคะแนนเพิ่มพิเศษตามระเบียบกองทัพไทย ว่าด้วย โรงเรียนเตรียมทหาร พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๙ ให้ส่งหลักฐานพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารทุกฉบับ ส่งด้วยตนเองในวันจันทร์ที่ ๓๐ มี.ค.๖๓ ณ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กรุงเทพมหานคร หรือ ส่งทางไปรษณีย์ (ตามที่อยู่ด้านล่าง) ภายใน ๖ เม.ย.๖๓ โดยถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราเป็นสำคัญ
    – ผู้ผ่านการสอบรอบแรก ที่มีความสามารถพิเศษทางการกีฬา และได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติขึ้นไป ในกีฬาประเภท กรีฑา, ฟุตบอล, รักบี้, บาสเกตบอล, มวยไทย, และมวยสากลสมัครเล่น มีสิทธิ์ขอคะแนนเพิ่มพิเศษ ให้ส่งหลักฐาน พร้อมลายมือชื่อ รับรองสำเนาของเอกสารทุกฉบับ ส่งด้วยตนเองในวันจันทร์ที่ ๓๐ มี.ค.๖๓ ณ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กรุงเทพมหานคร หรือ ส่งทางไปรษณีย์ (ตามที่อยู่ด้านล่าง) ภายใน ๖ เม.ย.๖๓ โดยถือวันที่ไปรษณีย์ประทับตราเป็นสาคัญ มีรายละเอียดการให้คะแนนเพิ่มดังนี้

    • ได้รับรางวัลชนะเลิศ เพิ่มให้ร้อยละ ๓ ของคะแนนเต็ม
    • ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ เพิ่มให้ร้อยละ ๒ ของคะแนนเต็ม
    • ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ เพิ่มให้ร้อยละ ๑ ของคะแนนเต็ม

หมายเหตุ หากไม่ส่งหลักฐานขอสิทธิ์คะแนนเพิ่มพิเศษตามกาหนด ถือว่าสละสิทธิ์

ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์
กองสถิติและทะเบียนประวัติ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต.พรหมณี อ.เมือง จ.นครนายก ๒๖๐๐๑


การสอบคัดเลือก

การสอบคัดเลือกจะกระทาเป็นสองรอบ

  • การสอบรอบแรก ตามข้อ ๓.๑
  • การสอบรอบที่สอง ตามข้อ ๓.๒

การสอบรอบแรก

เป็นการสอบภาควิชาการ จำนวน ๕ วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔)
ในปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๓ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครสอบ ออกเป็น ๒ โปรแกรม โดยทำการสอบด้วยการใช้ข้อสอบชุดเดียว แต่แยกการตรวจและประเมินผลสอบ ๒ รูปแบบ

  1. โปรแกรม ๑ กลุ่มทั่วไป เป็นโปรแกรมของนักเรียนเตรียมทหาร และนักเรียนนายร้อยตามหลักสูตรปกติ
    ประเมินผลโดย คิดคะแนน วิชาคณิตศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๙๐ คะแนน วิชาภาษาไทย ๖๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ ๑๕๐ คะแนน รวม ๗๐๐ คะแนน โดยวิชาภาษาอังกฤษ ถ้าสอบได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ ถือว่าไม่ผ่านการทดสอบในกลุ่มนี้
  2. โปรแกรม ๒ กลุ่มเฉพาะ เป็นโปรแกรมของนักเรียนเตรียมทหาร และนักเรียนนายร้อยตามหลักสูตรเฉพาะ
    – เมื่อเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ต้องเข้ารับการศึกษาในโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English Program)
    – เมื่อเป็นนักเรียนนายร้อย ต้องเข้ารับการศึกษาในสาขาวิชาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ หรือตามที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากาหนด
    ประเมินผลโดย คิดคะแนน วิชาคณิตศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์ ๒๐๐ คะแนน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๔๕ คะแนน วิชาภาษาไทย ๓๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ ๑๕๐ คะแนน รวม ๖๒๕ คะแนน โดยวิชาภาษาอังกฤษ ถ้าสอบได้คะแนนต่ากว่าร้อยละ ๔๐ ถือว่าไม่ผ่านการทดสอบในกลุ่มนี้ และไม่มีการเพิ่มคะแนนพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น ให้คิดเฉพาะคะแนนสอบภาควิชาการ ในการจัดลำดับการประเมินผลเท่านั้น

หมายเหตุ ผู้ผ่านการทดสอบรอบแรกอาจมีชื่ออยู่ในการประกาศผลสอบรอบแรกของทั้ง ๒ โปรแกรม ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทั้ง ๒ โปรแกรม ให้ดำเนินการสอบรอบสองครั้งเดียวตามปกติเหมือนผู้สอบอื่นๆ โดยโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าจะทำการประเมินผลการสอบของผู้สอบทั้ง ๒ โปรแกรม


วิชาคณิตศาสตร์

  1. ใช้เนื้อหา ดังนี้
    • เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
    • เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานและวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔) เนื้อหาดังต่อไปนี้
      ๑) เซต
      ๒) ตรรกศาสตร์
      ๓) จานวนจริง
      ๔) ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
      ๕) ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเซียล และฟังก์ชันลอการิทึม
      ๖) เรขาคณิตวิเคราะห์
      ๗) หลักการนับเบื้องต้น
      ๘) ความน่าจะเป็น

วิชาวิทยาศาสตร์

เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

  1. วิชาฟิสิกส์ เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ในรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔) เนื้อหาดังต่อไปนี้
    ๑) ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
    ๒) การเคลื่อนที่แนวตรง
    ๓) แรงและกฎการเคลื่อนที่
    ๔) สมดุลกล
    ๕) งานและพลังงาน
    ๖) โมเมนตัมและการชน
    ๗) การเคลื่อนที่แนวโค้ง
  2. วิชาเคมี เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ในรายวิชาเคมีเพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔) เนื้อหาดังต่อไปนี้
    ๑) ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
    ๒) อะตอมและสมบัติของธาตุ
    ๓) พันธะเคมี
    ๔) โมลและสูตรเคมี
    ๕) สารละลาย
    ๖) ปริมาณสัมพันธ์
  3. วิชาชีววิทยา เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ในรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ม.๔) เนื้อหาดังต่อไปนี้
    ๑) การศึกษาชีววิทยา
    ๒) เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
    ๓) เซลล์และการทางานของเซลล์
    ๔) โครโมโซมและสารพันธุกรรม
    ๕) การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    ๖) เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
    ๗) วิวัฒนาการ
  4. วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เนื้อหาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ในรายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔) เนื้อหาดังต่อไปนี้
    ๑) โครงสร้างโลก
    ๒) การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
    ๓) ธรณีพิบัติภัย
    ๔) การลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา
    ๕) ทรัพยากรธรณี
    ๖) แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่ธรณีวิทยา

วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

แบ่งกลุ่มเนื้อหาเรื่องที่ออกข้อสอบ ดังนี้

  1. กลุ่มวิชาทางด้านประวัติศาสตร์
    ๑.๑) พระราชประวัติ พระมหากรุณาธิคุณ และพระอัจฉริยะภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๑๐
    ๑.๒) พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ก่อให้เกิดความจงรักภักดี ความภูมิใจในความเป็นชาติ โดยเฉพาะองค์ที่ทรงเป็น “มหาราช”
    ๑.๓) พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โครงการพระราชดำริ ศาสตร์พระราชา ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    ๑.๔) ความเป็นมาและวิวัฒนาการของชาติไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์
    ๑.๕) วีรกรรมที่สำคัญของบรรพบุรุษไทย
    ๑.๖) บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทย ความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชน ในการสรรสร้างความมั่นคง และความเจริญให้กับประเทศไทย
    ๑.๗) หน้าที่พลเมือง ความมั่งคงของชาติและความสัมพันธ์กับสถาบันหลักของชาติ
    ๑.๘) ความเชื่อมโยงของปัจจุบันกับวิวัฒนาการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ และประชาชนชาวไทยในอดีต
    ๑.๙) เหตุการณ์สาคัญที่สร้างความตระหนักในความรักชาติ ความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และความจงรักภักดีต่อสถาบัน
  2. กลุ่มวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ (ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม, หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม การดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์)

กรอบเนื้อหาที่ออกข้อสอบ

  • เนื้อหาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และเนื้อหาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐)
  • กรอบเนื้อหาตามหนังสือที่ควรอ่าน
    ๑) หนังสือที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และเนื้อหาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐)
    ๒) ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทาสนธิสัญญาบาวริงถึงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖) : ปิยนาถ บุนนาค
    ๓) ประวัติศาสตร์ชาติไทย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗
    ๔) พัฒนาการเมืองการปกครองไทย : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    ๕) เจ้าชีวิตพงศาวดาร ๙ รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

วิชาภาษาไทย

  1. เนื้อหาครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  2. เนื้อหาครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔)

วิชาภาษาอังกฤษ

  1. เนื้อหาครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  2. เนื้อหาครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔)

การเตรียมตัวสอบรอบแรก ผู้สมัครควรไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบประมาณ ๓ ชั่วโมง เพื่อ ตรวจสอบหมายเลขห้องสอบ และสถานที่สอบ จากผังที่จัดแสดงไว้ในวันสอบ แต่ห้ามผู้สมัครและผู้ติดตามขึ้นห้องสอบ โดยให้รออยู่บริเวณชั้นล่างนอกตึกสอบ จนกว่ากรรมการคุมสอบจะเรียกผู้สมัครไปดำเนินกรรมวิธีต่าง ๆ (โดยปกติจะเรียกก่อนเวลาสอบ ๑ ชั่วโมง ให้ผู้สมัครดูรายละเอียดจากตารางกำหนดวันรับสมัครและสอบคัดเลือกฯ หน้าหลังของปกหน้า)

อนุญาตให้ผู้สมัครนาดินสอ ๒ บี ยางลบ และนาฬิกาข้อมือชนิดไม่มีฟังก์ชัน (โปรแกรม) เข้าห้อง สอบเท่านั้น อุปกรณ์อื่น ๆ ห้ามนำเข้าห้องสอบหรือวางไว้บริเวณหน้าห้องสอบโดยเด็ดขาด บริเวณสนามสอบ ทุกแห่ง ไม่มีสถานที่รับฝากสิ่งของ ผู้สมัครจึงไม่ควรนำสิ่งของมีค่าใด ๆ ติดตัวไปในวันสอบ หากมีความจำเป็นต้องนำไป ก็ให้ฝากสิ่งของไว้กับผู้ติดตาม มิฉะนั้น อาจจะสูญหายได้

ให้ผู้สมัครอ่านข้อปฏิบัติเพิ่มเติมจากด้านหลังของบัตรประจำตัวสอบ และปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด


การสอบรอบที่สอง

เป็นการสอบพลศึกษา ตรวจร่างกาย การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม รวมทั้งการทดสอบสุขภาพจิตและการทดสอบวิภาววิสัย

การประเมินผลในโปรแกรม ๑ กลุ่มทั่วไป จะนำคะแนนเพิ่มต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ และคะแนน พลศึกษามารวมกัน แล้วเรียงลำดับคะแนนในการประกาศผลใหม่

การประเมินผลในโปรแกรม ๒ กลุ่มเฉพาะ จะไม่มีการนำคะแนนเพิ่มต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ และคะแนนพลศึกษามาคิด เกณฑ์ทุกอย่างของการสอบรอบที่ ๒ ใช้เกณฑ์ผ่านเท่านั้น การเรียงลำดับคะแนนในการประกาศผลยังคงเป็นเป็นเช่นเดียวกับการประกาศผลสอบรอบแรก ยกเว้นผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การสอบรอบสองเท่านั้น

ผู้ที่ผ่านการสอบรอบแรก จะต้องเข้าทดสอบทางสุขภาพจิต และการทดสอบวิภาววิสัย โดยผลการทดสอบจะใช้เกณฑ์ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เท่านั้น โดยไม่มีคะแนน ผลการทดสอบทางสุขภาพจิตและการทดสอบวิภาววิสัย ถือความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ที่กองทัพบกแต่งตั้งขึ้นเป็นเด็ดขาด

ผู้ที่ผ่านการสอบรอบแรก จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม และการสอบพลศึกษา โดยจัดแบ่งผู้สมัครสอบออกเป็น ๓ กลุ่ม เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายทั่วไปสลับกับการสอบพลศึกษา และการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม จนครบทุกกลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

    1. การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจอื่น ๆ
      ๑) การตรวจเลือด
      – ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
      – การตรวจหาเชื้อกามโรค (VDRL)
      – การตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag)
      – การตรวจการติดเชื้อโรคเอดส์ (Anti HIV)
      ๒) การตรวจปัสสาวะ
      – การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine exam)
      – การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ (Urine Methamphetamine)
      ๓) เอกซเรย์ทรวงอก
      – ไม่สวมเครื่องประดับทุกชิ้นที่เป็นโลหะ รวมถึงวัสดุต่าง ๆ ในส่วนที่ตรวจที่เป็นโลหะ
      ๔) การตรวจการได้ยิน (Hearing Test)
      – ไม่สัมผัสเสียงดังก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อยที่สุด ๘-๑๖ ชั่วโมง
      ๕) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
      ๖) การตรวจกระจกตา
      ๗) การตรวจร่างกาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย อายุรแพทย์, อายุรแพทย์โรคหัวใจ, แพทย์ หู คอ จมูก, จักษุแพทย์, แพทย์โรคผิวหนัง, ศัลยแพทย์ทั่วไป, ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ, ศัลยแพทย์โรคทางเดินปัสสาวะ และทันตแพทย์ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษเฉพาะผู้สมัครบางรายที่มีแนวโน้ม ผลการตรวจร่างกายผิดปกติเพิ่มเติมนอกเหนือจากตรวจธรรมดา ผู้รับการตรวจจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
      – คำแนะนาการปฏิบัติในวันตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ

      • ไม่ควรรับประทานยาใด ๆ เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้ไอ ยาแก้โรคหอบหืด ยาลดความอ้วน ยาที่มีผลต่อจิตประสาท ฯลฯ หรือยาใด ๆ ที่อาจมีผลต่อการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ
      • ก่อนวันตรวจและเช้าวันตรวจ ผู้สมัครไม่ควรรับประทานอาหารและ ยาประเภทกระตุ้นกำลัง เพราะอาจทาให้การเต้นของหัวใจและความดันโลหิตผิดปกติได้
      • ห้ามผู้สมัครใส่ Contact-Lens มาตรวจสายตา
      • ผลการตรวจร่างกาย ถือความเห็น ของคณะกรรมการแพทย์ที่กองทัพบกแต่งตั้งขึ้นเป็นเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัคร ได้รับการตรวจโรค หรือได้รับใบรับรองการตรวจโรค จากที่อื่น ๆ
      • ผลการตรวจร่างกาย จะใช้เกณฑ์ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เท่านั้น โดยไม่มีคะแนน ผู้ไม่ผ่านหมายถึงผู้มีโรคหรือความพิการ ที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก (ผนวก ข) หรือมีภาวะสุขภาพจิตที่ไม่เหมาะต่อการเป็นนักเรียนทหาร
    2. การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม
      • เป็นการตรวจสอบบุคลิกลักษณะท่าทาง เสียง คำพูด ไหวพริบปฏิภาณ ความว่องไว และการปฏิบัติตามคำสั่ง ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ซึ่งเหมาะสม ที่จะเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วน ของกองทัพบก
      • สถานที่สอบ ณ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
      • การปฏิบัติของผู้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม
        ๑) จะต้องทำการสอบตามวัน เวลา และสถานที่ที่กาหนด ดังนี้
        – เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรวจสอบรายชื่อและรับฟังคำชี้แจง การปฏิบัติ ณ หน้าอาคารส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
        – เวลา ๐๘.๐๐ น. เริ่มการสอบสัมภาษณ์
        ๒) จะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่สวมรองเท้าแตะ ไม่ไว้ผมยาวจนดูน่าเกลียด ไม่นำสิ่งของที่มีค่าติดตัวระหว่างเข้ารับการสอบสัมภาษณ์
      • จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ และแนวทางการปฏิบัติของแต่ละสถานีอย่างเคร่งครัด ห้ามผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้เข้ารับการสอบ และห้ามเข้าในเขต “ห้ามผ่าน” โดย เด็ดขาด
      • ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม ให้ดำเนินการการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และต้องนำมาให้กับคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ฯ ในวันที่เข้าสอบสัมภาษณ์ รายละเอียดตาม ผนวก จ

      ผลการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม ถือความเห็นของคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ฯ ที่กองทัพบกแต่งตั้งขึ้นเป็นเด็ดขาด
      ผลการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม จะใช้เกณฑ์ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เท่านั้น โดยไม่มีคะแนน
      “ผ่าน” หมายถึง ผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม มีคุณสมบัติ เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบกได้
      “ไม่ผ่าน” หมายถึง ผู้ที่ไม่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม ไม่มี คุณสมบัติเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก

    3. การสอบพลศึกษา
      เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความคล่องตัว ความเร็ว ความอดทน การไหลเวียนของโลหิต และผู้สมัครสอบต้องผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยสถานีทดสอบทั้งสิ้น ๘ สถานี ดังนี้
      – สถานีที่ ๑ ดึงข้อราวเดี่ยว
      – สถานีที่ ๒ วิ่งเก็บของ
      – สถานีที่ ๓ ลุก – นั่ง ๓๐ วินาที
      – สถานีที่ ๔ นั่งงอตัว
      – สถานีที่ ๕ ยืนกระโดดไกล
      – สถานีที่ ๖ วิ่งระยะทาง ๕๐ เมตร
      – สถานีที่ ๗ วิ่งระยะทาง ๑,๐๐๐ เมตร
      – สถานีที่ ๘ ว่ายน้าระยะทาง ๕๐ เมตร
crma1_2563

สถานที่สอบ

  1. สถานที่สอบรอบแรก (ภาควิชาการ)
    – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
  2. สถานที่สอบรอบที่สอง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก

การประกาศผลการสอบคัดเลือก

  1. เมื่อเสร็จการสอบรอบแรกคือสอบภาควิชาการแล้ว จะปิดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ ในรอบที่สอง เพื่อเข้าทดสอบทางสุขภาพจิต, การทดสอบวิภาววิสัย, การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม, ทดสอบพลศึกษา และการตรวจร่างกาย
    ผู้ที่สอบผ่านภาควิชาการ ต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเท่านั้น ถ้าไม่มาถือว่าสละสิทธิ์
  2. เมื่อเสร็จการสอบรอบที่สองแล้ว จะประกาศผลว่าผู้ใดมีสิทธิ์เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก ผู้ที่มีรายชื่อในประกาศทั้ง ๒ โปรแกรม มีสิทธิ์เลือกเข้ารับการศึกษาโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเท่านั้น และต้องคอยฟังคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ
  3. สถานที่ประกาศผลการสอบ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กรุงเทพฯ