โรงเรียนเตรียมทหารส่วนของกองทัพบก การสอบรอบสอง ปีการศึกษา 2564
การสอบรอบที่สอง
การตรวจร่างกาย การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม และการสอบพลศึกษา โดยจัดแบ่งผู้สมัครสอบออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายทั่วไป สลับกับการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม และการสอบพลศึกษา จนครบทุกกลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้
1. การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจอื่นๆ
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1) การตรวจเลือด
– ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
– การตรวจหาเชื้อกามโรค (VDRL)
– การตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag)
– การตรวจการติดเชื้อโรคเอดส์ (Anti HIV)
2) การตรวจปัสสาวะ
– การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine exam)
– การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ (Methamphetamine and Urine Cannabinoid) - เอกซเรย์ทรวงอก
– ไม่สวมเครื่องประดับทุกชิ้นที่เป็นโลหะ รวมถึงวัสดุต่าง ๆ ในส่วนที่ตรวจที่เป็นโลหะ - การตรวจการได้ยิน (Hearing Test)
– ไม่สัมผัสเสียงดังก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อยที่สุด 8-16 ชั่วโมง - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- การตรวจกระจกตา
- การตรวจร่างกาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย อายุรแพทย์, อายุรแพทย์โรคหัวใจ, แพทย์ หู คอ จมูก, จักษุแพทย์, แพทย์โรคผิวหนัง, ศัลยแพทย์ทั่วไป, ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ, ศัลยแพทย์โรคทางเดินปัสสาวะ และทันตแพทย์
– ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษเฉพาะผู้สมัครบางรายที่มีแนวโน้ม ผลการตรวจร่างกายผิดปกติเพิ่มเติมนอกเหนือจากตรวจธรรมดา ผู้รับการตรวจจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
– คำแนะนาการปฏิบัติในวันตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจร่างกาย ถือความเห็น ของคณะกรรมการแพทย์ที่กองทัพบกแต่งตั้งขึ้นเป็นเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัคร ได้รับการตรวจโรค หรือได้รับใบรับรองการตรวจโรค จากที่อื่น ๆ
ผลการตรวจร่างกาย จะใช้เกณฑ์ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เท่านั้น โดยไม่มีคะแนน ผู้ไม่ผ่านหมายถึงผู้มีโรคหรือความพิการ ที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก (ผนวก ข)
2. การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม
- เป็นการตรวจสอบบุคลิกลักษณะท่าทาง เสียง คำพูด ไหวพริบปฏิภาณ ความว่องไว และการปฏิบัติตามคำสั่ง ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ซึ่งเหมาะสม ที่จะเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วน ของกองทัพบก
- สถานที่สอบ : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก
- การปฏิบัติของผู้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม
1) จะต้องทำการสอบตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด ดังนี้
– เวลา 07.00 น. ตรวจสอบรายชื่อและรับฟังคำชี้แจงการปฏิบัติ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
– เวลา 08.00 น. เริ่มการสอบสัมภาษณ์ฯ
2) จะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่สวมรองเท้าแตะ ไม่ไว้ผมยาวจนดูน่าเกลียด ไม่นำสิ่งของที่มีค่าติดตัวระหว่างเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ฯ
3) จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนา และแนวทางการปฏิบัติของแต่ละสถานีอย่างเคร่งครัด ห้ามผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้เข้ารับการสอบ และห้ามเข้าในเขต “ห้ามผ่าน” โดย เด็ดขาด
4) ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม ให้ดำเนินการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และต้องนำมาให้กับคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ฯ ในวันที่เข้าสอบสัมภาษณ์ รายละเอียดตาม ผนวก จ
ผลการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม ถือความเห็นของคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ฯ ที่กองทัพบกแต่งตั้งขึ้นเป็นเด็ดขาดผลการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม จะใช้เกณฑ์การให้ คะแนน 100 คะแนน ถ้าผลคะแนนรวมไม่ถึง 50 คะแนน ถือว่า “ไม่ผ่าน”
“ผ่าน” หมายถึง ผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม มีคุณสมบัติ เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบกได้
“ไม่ผ่าน” หมายถึง ผู้ที่ไม่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสม ไม่มี คุณสมบัติเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก
3. การสอบพลศึกษา
เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความคล่องตัว ความเร็ว ความอดทน การไหลเวียนของโลหิต และผู้สมัครสอบต้องผ่านตามเกณฑ์ที่กาหนด ซึ่งประกอบด้วยสถานีทดสอบทั้งสิ้น ๘ สถานี ดังนี้
– สถานีที่ 1 ดึงข้อราวเดี่ยว
– สถานีที่ 2 วิ่งเก็บของ
– สถานีที่ 3 ลุก – นั่ง 30 วินาที
– สถานีที่ 4 นั่งงอตัว
– สถานีที่ 5 ยืนกระโดดไกล
– สถานีที่ 6 วิ่งระยะทาง 50 เมตร
– สถานีที่ 7 วิ่งระยะทาง 1,000 เมตร
– สถานีที่ 8 ว่ายน้าระยะทาง 50 เมตร
4. การคิดคะแนนในการสอบพลศึกษา
ในการคิดคะแนนพลศึกษา การสอบไม่ผ่านสถานีใดสถานีหนึ่ง ถือว่าสอบตกพล