คอร์สติวสอบตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม) 2567

We Promise to Make Your Dream Come Closer!

คอร์สตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม)

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจบุคคลและพาหนะที่เดินทางเข้าออกมายังภายในประเทศ พร้อมทั้งตรวจสอบคนต่างด้าวที่อาจเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย

ด้วยสำนักงานตำรวแห่งชาติได้มอบหมายให้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ดำเนินการรับสมัครและ สอบแข่งขันบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ยศสิบตำรวจตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับหมู่ กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน ในสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยวิธีการสอบแข่งขัน

ระเบียบการรับสมัครสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม) 2566

คลิก!!..เลือกหัวข้อที่สนใจ

ประกาศสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(ตม) เรื่องรับสมัครสอบแข่งขันบุคคลภายนอก เพื่อบรรจุเข้ารับราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 330 อัตรา พ.ศ.2567

ประกาศสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(ตม) เรื่องรับสมัครสอบแข่งขันบุคคลภายนอก เพื่อบรรจุเข้ารับราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 330 อัตรา พ.ศ.2567

ปล. ต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้ภาษาต่างประเทศ กรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

คอร์สติวสอบตำรวจตรวจคนเข้าเมือง

การสอบรอบแรก

  • ความสามารถทั่วไป จำนวน 15 ข้อ
  • ภาษาไทย จำนวน 15 ข้อ

ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ รวม 30 คะแนน

  • พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 ข้อ
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 15 ข้อ
  • สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จำนวน 20 ข้อ
  • ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 15 ข้อ
  • พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรม และจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 10 ข้อ
  • คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 10 ข้อ

ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 120 ข้อ รวม 120 คะแนน

ผลการทดสอบ ใช้เกณฑ์คะแนนในแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ถือว่าผ่านการทดสอบ แล้วนำคะแนนมารวมจัดลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยไม่เกินลำดับที่ 160

การสอบรอบสอง

1. การตรวจสอบคุณสมบัติ ประวัติและความประพฤติ เป็นการพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดหรือไม่โดยจะทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้สมัครเพื่อตรวจสอบประวัติไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนา, ระบบสารสนเทศตำรวจ (POLIS) และระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ (CRIMES) รวมทั้งตรวจสอบประวัติที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดกับกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด หากผู้ใดมีประวัติถูกลงโทษหรือความประพฤติตามที่กำหนดไว้ในเรื่องของคุณสมบัติจะถูกตัดสิทธิไม่ให้เป็นผู้สอบแข่งขันได้ผลการตรวจสอบ จะใช้เกณฑ์ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” ผู้ตรวจสอบคุณสมบัติผ่านจะได้ 100 คะแนน ผู้ที่ไม่ผ่านจะได้ 0 คะแนน

2. การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา และความเหมาะสมเป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจาณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติกรทำงาน พฤติกรรม ความรู้ความสมารถประสบการณ์ บุคลิกลักษณะ ท่วงที วาจา ปฏิภาณไหวพริบ อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม เป็นต้น ผลการสอบถือความเห็นของคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งขึ้นถือเป็นเด็ดขาด ผลการสอบ จะใช้เกณฑ์ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” ผู้สอบผ่านจะได้ 100 คะแนน ผู้ที่ไม่ผ่าน จะได้ 0 คะแนน

3.การตรวจร่างกายและการทดสอบสุขภาพจิต ผลการตรวจ ถือความเห็นของคณะกรรมการแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติถือเป็นเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจร่างกาย หรือได้รับใบรับรองการตรวจร่างกายจากสถานที่อื่นๆ กรณีผู้สมัครสอบที่จะมาเข้ารับการตรวจร่างกายตามกำหนดและเป็นผู้ที่เคยมีประวัติการรักษาโรคหรืออาการตามบัญชีโรคหรือาการในผนวก ก. และ ผนวก ข. มาก่อนและหายเป็นปกติแล้วก่อนถึงกำหนดการตรวจร่างกายของคณะกรรมการแพทย์โงพยาบาลตำรวจตามกำหนดการสอบแข่งขันครั้งนี้ให้นำประวัติและใบรับรอแพทย์เกี่ยวกับการรักษาที่หายป็นปกติก่อนวันตราจร่างกายดังกล่าว แล้วนำมายื่นในวันรายงานตัวเข้าตรวจร่างกาย เพื่อให้ผลการวินิฉัยการตรวจโรค หรืออาการตามกำหนด เป็นไปโดยถูกต้อง และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้สมัครสอบเอง การตรวจจะใช้เกณฑ์ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” ผู้ผ่านการตรวจจะได้ 100 คะแนน ผู้ที่ไม่ผ่านจะได้ 0 คะแนน

ทั้งนี้ กำหนดให้ผู้สมัครสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป และภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งก่อน แล้วจึงให้ผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเข้าสอบในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งตามจำนวนที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนด

คะแนนที่ได้ในรอบสอง ไม่สามารถนำไปรวมเข้ากับการสอบข้อเขียนในรอบแรก
เพื่อจัดลำดับเป็นผู้สอบแข่งขันได้