สวัสดีจ่ะ วันนี้เราจะมาบอกขั้นตอนกว่าจะได้เป็น Student Pilot การบินไทย ต้องผ่านด่านอรหันอะไรบ้างง (แบบไม่งง??)

We Promise to Make Your Dream Come Closer!

สวัสดีจ่ะ วันนี้เราจะมาบอกขั้นตอนกว่าจะได้เป็น Student Pilot การบินไทย ต้องผ่านด่านอรหันอะไรบ้างง (แบบไม่งง??)

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway
ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

ทุนนี้เป็นทุนที่ฟรีจริงๆ ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี
ปกติแล้ว SP สายการบินอืนๆ จะเป็นลักษณะให้กู้เงินเรียน ซึ่งค่าเรียนจะอยู่ที่ 2.5 -3.0 ล้านบาท แล้วแต่รร.ฝึกบินนั้นๆ โดยที่บริษัทจะเป็นผู้ค้ำประกันให้ ตอนกู้


แต่ SPTG น้องไม่ต้องกู้เงินให้ลำบาก เรียนฟรี มีเบี้ยเลี้ยงระหว่างศึกษา แต่จะมีสัญญาข้อผูกมัดหลังจบการศึกษาจะต้องทำงานใช้ทุนตามระยะเวลาสัญญากำหนด


จบมาเข้าทำงานเป็นนักบินกับการบินไทย การันตีมีงานทำแน่นอน โดยที่เหล่า SPTG ทั้งหลาย จะถูกส่งมาฝึกบินที่ สถาบันการบินพลเรือน(หัวหิน+กทม) ในทุกๆรุ่นที่ผ่านมา

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

แน่นอนครับ เริ่มแรก ต้องดูเรื่องของคุณสมบัติการรับสมัคร ซึ่งการบินไทย กำหนดเรื่องของ อายุ ส่วนสูง และคะแนนสอบภาษาอังฤกษ จบปริญญาตรี จากสถาบันไหน สาขาไหนก็ได้ ไม่กำหนดเรื่องเกรด ถ้าน้องๆมีคุณสมบัติตามนี้แล้ว ก็ไปสู่ขั้นตอนที่ 2 กันเลยครับ Goooooๆๆๆ

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

การสมัคร ดาวโหลดใบสมัคร ชำระเงินค่าสมัคร และยื่นสมัครสอบด้วยตนเองที่บริษัทการบินไทย(สำนักงานใหญ่) ยกเว้นวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

ถัดมาคือ การสอบข้อเขียน ซึ่ง รายวิชาก็จะเป็นดังที่เราบอกน่ะครับ จะเริ่มสอบ 8.00 – 12.30 ที่บริษัทการบินไทยสำนักงานใหญ่ เช่นเดิมครับ!!

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

เมื่อประกาศผลสอบข้อเขียนแล้ว น้องๆมีรายชื่อ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 นั่นคือการสอบสัมภาษณ์กับกัปตันการบินไทย ลักษณะและแนวทางการสอบ ก็จะเป็นดังในรูปครับ ต้องเตรียมตัวดีๆเลยน่ะๆ

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

เมื่อผ่านด่านนี้แล้ว ต่อมาคือการตรวจร่างกายครับ ที่ รพ.ภูมิพล สถาบันเวชศาสตร์การบิน เราเรียกการตรวจนี้ว่า Medical Class 1 การตรวจก็จะค่อนข้างละเอียดพอสมควรเลยครับ มีรายการดังนี้ครับ

เวชศาสตร์การบิน (Aviation Medicine) คือการแพทย์เฉพาะทางที่รวมเอา ศาสตร์ทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ป้องกัน อาชีวเวชศาสตร์ เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม อายุรศาสตร์ ผนวกกับ ศาสตร์ทางสรีระวิทยา และจิตเวชเข้าด้วยกันโดยเจาะจงไปยังผู้กระทำการบินในอากาศ โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของทั้งผู้ปฏิบัติงานในอากาศและผู้โดยสารและใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคนเข้ามาทำการบิน ซึ่งการคัดเลือกดังกล่าวจะช่วยลดอากาศยานอุบัติเหตุ และงบประมาณด้านสาธารณสุขได้อีกทางหนึ่ง

ปัจจุบันมีสองที่หลักๆครับที่มีการตรวจเวชศาสตร์การบินและ โรงเรียนการบินจับส่งตรวจคือ เวชศาสตร์การบินโรงพยาบาลภูมิพล และเวชศาสตร์การบินโรงพยาบาลกรุงเทพฯ การจะไปตรวจได้ต้องได้รับการส่งตรวจจากโรงเรียนการบินหรือต้นสังกัดเท่านั้นครับไม่มีการไปขอตรวจก่อนหรืออยากตรวจเอง

ในส่วนนี้ขอเล่าเฉพาะการตรวจร่างกายก่อนครับ การตรวจร่างกายก็คือการดูภาพรวมของร่างกายเราว่ามีความพร้อมไปบินหรือไม่ และร่างกายสามารถทนทานสภาพแวดล้อมที่ต่างจากระดับพื้นโลกได้แค่ไหนโดยประเมินจากสภาวะเบื้องต้นของร่างกาย ในการตรวจร่างกายก็คล้ายๆการตรวจเพื่อเข้าทำงานสมัครงานแหละครับ ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องอดอาหารและน้ำหลังสี่ทุ่มเพื่อไปตรวจแปดโมงเช้าวันรุ่งขึ้นโดยขั้นตอนมีดังนี้ (คล้ายๆกันทั้งสองโรงพยาบาลต่างกันในรายละเอียดนิดหน่อย)

1. การทำประวัติ ตรงนี้จะมีให้กรอกเอกสารจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเอกสารใช้สำหรับการตรวจในส่วนต่างๆในส่วนนี้จะมีคำถามต่างๆถามถึงตัวผู้ตรวจและคนในครอบครัวเช่น เคยเป็นโรคไข้ละอองฟาง วัณโรค หรือ คนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือไม่ ซึ่งการถามดังกล่าวเป็นการถามเพื่อประเมินความเสี่ยงที่ผู้ตรวจเองอาจจะเป็นพาหะนำโรคหรือผลจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่อาจจะพบได้จากผลตรวจของเราเอง เขาจะได้ไม่ตกใจ (คือหมอคนที่อ่านผลเขาจะได้รู้ไว้ว่าค่าในร่างกายบางตัวอาจสูงผิดปรกติเพราะพันธุกรรม หรือเคยเป็นโรคอะไรมา ไม่ได้เป็นเรื่องที่เอาไปจับให้ตก)

2.การเก็บปัสสาวะ เจาะเลือด: หลังจากที่อดมาแปดชั่วโมง ค่าที่ตรวจตรงนี้สามารถแปรผลได้มากมายครับจากการการวัดค่าต่างๆในเสือด และปัสสาวะเพื่อดูความผิดปรกติของร่างกายเช่น ภาวะในเลือด การติดเชื้อ การทำงานของตับ ไต การดูดซึมในร่างกาย และโรคติดต่อต่างๆเช่นซิฟิลิส ตับอักเสบ และ HIV (ระวังนะครับพวก”ชกสด”)

3.ตรวจเอ๊กซ์เรย์ปอด เพื่อดูรูปร่างของปอด กระบังลม หลอดลมและความผิดปรกติในร่างกายโดยส่วนที่เป็นอากาศจะดำๆ ส่วนที่มีแคลเซี่ยมจะดูขาวๆครับ ซึ่งพบในเนื้อเยื่อและกระดูก ซึ่งพอจะประเมินสภาพปอดได้ครับ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่มากอาจจะเห็นร่องรอยได้ชัดเจนเช่นกัน

4.ตรวจการได้ยิน เป็นห้องเก็บเสียงไร้เสียงสะท้อน ผู้เข้าตรวจจะใส่หูฟังและมือจะถือปุ่มกดไว้อันนึง เจ้าหน้าที่จะส่งคลื่นความถี่เบบ pure tone มาในย่านความถี่ต่างๆ ส่วนใหญ่ความดัง ไม่ค่อยดังมาก เสียง “วี๊ๆ หึ่งๆ”ในหู (พวกที่ชอบฟังเพลงดังๆ จะมีปัญหาครับ)

5.ตรวจตา จะแบ่งเป็นสองส่วนคือการตรวจสถาพของดวงตาด้วย slit lamp ตรวจความดันลูกตา และตรวจสภาพการมองเห็น การตรวจตาบอดสี (อิชิฮาร่า) ตรวจลานสายตา (vision field) จุดรวมสายตา (point of convergence) ตรวจตาเหล่ (exophoria) การกะระยะความลึก (depth perception) หากมีสายตาสั้น ยาว เอียง แล้วต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ จะมีการวัดค่าสายตาด้วย ให้ผู้ที่ตรวจนำแว่นไปด้วย ถึงแม้ว่าจะใส่เฉพาะเวลา คนที่ทำเลสิกเอาใบรับรองแพทย์ “ว่าทำมาแล้วเกิน 1 ปี ก่อนทำสายตาเท่าไรและหลังแก้ไขผลที่วัดได้เป็นอย่างไร

สายตาถามกันบ่อยครับว่าสั้นเท่าไรเป็นนักบินได้ เมื่องาน Open House ของ RSAC  หมอมาโนชญ์ และหมอกบ จากเวชศาสตร์การบินมาให้ข้อมูลเรื่องสายตาว่า กรมการบินพลเรือน (ต่อไปนี้เรียกว่า”กรมฯ”) ให้หลักเกณฑ์ในการตรวจคือ ตรวจครั้งแรก ไม่เกิน+3 ถึง -3 ไดออฟเตอร์ (สั้นยาวไม่เกิน 300) เอียงไม่เกิน 2 ไดออฟเตอร์ (เอียงไม่เกิน 200)ส่วนตรวจครั้งต่อๆไปหรือเมื่อเป็นนักบินแล้ว ไม่ควรเกิน +5 หรือ-5ไดออฟเตอร์ (สั้นยาวไม่เกิน 500) กรมฯ ไม่ห้ามให้นักบินใส่แว่นบินครับ แต่ต้องมีแว่นสำรองอีกอันติดตัวไว้ ส่วนทำเลสิค กรมฯก็ไม่ห้าม แต่ก่อนทำต้องไม่เกิน 500 หลังทำต้องมีสายตาคงที่ใน 1ปี และค่ากระจายแสงที่เหมาะสม (อันนี้ไม่ทราบครับ ใครทราบบอกหน่อย) ทั้งนี้เป็นข้อกำหนดของกรมฯ สายการบินมีสิทธิ์ที่จะตั้งมาตรฐานให้สูงกว่าได้ โดยสายการบินจะมีมาตรฐานของตัวเอง(มักจะสูงกว่า) และให้เวชศาสตร์การบินเป็นผู้ตรวจ ดังนั้นขอกำหนดสายตา(และการตรวจอื่นๆ)จึงเป็นมาตรฐานของสายการบินไม่ใช่กรมฯ ส่วนใครจะทำเลสิกมาสายการบินเขาไม่ห้ามอยู่แล้วครับแต่ต้องทำมามากกว่า 1 ปีและมีใบรับรองแพทย์มายืนยันค่าสายตา ค่าการกระจายแสง ผลการวัดสายตาทั้งหมด

6.ตรวจฟัน ดูตำหนิบนฟัน (ทางทันตกรรม) ว่ามีอะไรบ้าง เช่นซี่หมายเลขไหนเคยถอนออกไป อุดฟันซี่ไหนบ้าง หากมีฟันผุ หินปูนหรืออาการในช่องปากหมอเขาก็จะแนะนำให้ไปรักษาต่อเพื่อไม่ให้รบกวนการบิน

7.ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG เป็นการตรวจเพื่อดูความเสี่ยงของโรคต่างๆเช่น โคเรสเตอรอล(ร่วมกับผลเลือด) เบาหวาน โรคอ้วนและอาหารของหัวใจเช่น หัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบ รั่ว โดยทั้งมดหากไม่ร้ายแรงจะเป็นแค่คำเตือนเพื่อให้รักษาสุขภาพต่อไป

8.ตรวจสรีระ นอกจากการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแล้ว ฝ่ายชายจะเรียกกันเล่นๆว่า ตรวจ “จับไข่” ห้องนี้เข้ามาก็จะถอดหมด…เปลือยเปล่า ห้องนี้จะตรวจการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในท่าทางต่างๆ และตรวจริดสีดวง ภาวะ Cryptochidism หรือลูกอัณฑะไม่ลงถุง ซึ่งอาจจะเกิดจากพันธุกรรมหรือมะเร็งบางชนิด รพ.ภูมิพล จะให้ยืนยกแขนกางนิ้วหุบนิ้ว เขย่งปลายเท้าแล้วย่อ ก้มแตะ โดยการเคลื่อนไวจะดูลักษณะผิดปรกติในการเคลื่อนไหว

ส่วน รพ.กรุงเทพ จะให้นอนเข่าชิดอก แล้วไอแรงๆ “แรงๆ… แรงอีก” เวลาไอแล้วอัณฑะจะหดตัว ก็เป็นท่าทางประมาณนี้ครับ นอกจากนี้ยังมีการตรวจความยาวช่วงขา ช่วงเข่า ความสูงขณะนั่ง การหายใจความจุปอดและทดสอบความแข็งแรงของปอด (ด้วยการเป่าลมผ่านเครื่องวัด) อ่านถึงตรงนี้ “สารภาพมาใครลองไอแรงๆแล้ว555”

9.สุดท้ายก็มาพบแพทย์เพื่อใหแพทย์ดูผลภาพรวม และซักถามนิดหน่อยครับหากผิดปรกติก็อาจจะมีการนัดนอกรอบเพื่อมาตรวจอีกครั้งหนึ่ง

Cr.เพจกว่าจะเป็นนักบิน The Pilot’s story by Student Pilot (RSAC007)

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

ขั้นนี้คือ ส่งเอกสาร รายละเอียดเอกสารต่างๆ ตามในรูปเลยครับ โดยที่ผู้สมัครต้องนำเอกสารตามนี้ไปส่งด้วยตนเองที่บริษํทการบินไทย(สำนักงานใหญ่)

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

มาสู่รอบสำคัญครับ Written Test หรือ Group Test

เป็นการสอบข้อสอบ Paper aptitude test ซึ่งต้องบอกว่า สอบกันทั้งวันจริงๆ อวกกันไปข้างหนึง เพราะข้อสอบที่เยอะ และมีเวลากำหนดในแต่ละชุด หมดชุดหนึง จะมีเวลาเบรคให้ แต่ก็ไม่นาน นั่งทำกันสนุกเลยครับ แห่ๆ

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

ผุ้ที่ผ่านรอบ Group Test ถึงจะเข้าสู่รอบ Teamwork

รอบนี้จะมีคนที่สัมภาษณ์และผู้สังเกตุการณ์ โดยที่จะแบ่งกลุ่ม แล้วให้สถานการณ์ แล้วให้อภิปายการทำงานที่ได้รับมอบหมายกันภายในกลุ่ม เป็นภาษาอังกฤษ โดยที่จะมีคนคอยดู จดคะแนน ผู้สมัครแต่ละคน ฉะนั้นเราต้องแสดงให้เห็นว่า เรามีความเหมาะสมอย่างไร และมีการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีมดีแค่ไหน เพื่อให้โดนจำคณะกรรมการ และผ่านเข้าสู่รอบต่อไป

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

ผู้สมัครที่ผ่านรอบ Teamwork แล้วจึงจะได้เข้ามาสู่รอบ สัมภาษณ์กับ Professor ชาวสวีเดน ซึ่งถือว่าเป็นรอบที่ยากทึ่สุดเลยก็ว่าได้ ในการคัดเลือก SPTG ผุ้ที่ผ่านรอบนี้ ถือว่าคุณได้เดินทางก้าวเข้าสู่เส้นทางนักบิน SPTG มาแล้ว 99% แต่ถ้าผู้สมัครตกรอบนี้ จะโดนแบน 3 ปี ถึงจะกลับมา Re-Apply ใหม่ได้

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

รอบที่ 8 รอบเวชศาสตร์ ถือว่าเป็นรอบที่ชิวที่สุด แห่ๆ เพราะเราผ่านด่านอรหันต์มาหมดแล้ว การสอบรอบนี้ก็จะแบ่งเป็นสองช่วง คือ Paper Test และสัมภาษณ์กับนักเวชศาสตร์ ผ่านรอบนี้ก็เตรียมปากกาเซนสัญญาและเตรียมตัวเรียนบินกันได้เลยครับ น้องๆ ^^

ติวสอบ Student Pilot Thai Airway

บทความโดย

SENIOR EXECUTIVE MANAGING DIRECTOR

พี่กอล์ฟ เอ็นจิเนียร์ติวเตอร์

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *